“กลุ่มเซ็นทรัล” (CENTRAL GROUP) และการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน กว่า 75 ปี ที่ผ่านมา

กลุ่มเซ็นทรัล มุ่งมั่นสร้างความเจริญก้าวหน้า

ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของทุกคน

ผ่านการร่วมมือกับชุมชน คู่ค้า ลูกค้า พนักงานและผู้มีส่วนได้เสีย


โดยการใช้ศักยภาพและความเชี่ยวชาญของกลุ่มบริษัท คำนึงถึงการดำเนินธุรกิจในเชิงคุณภาพที่สอดคล้องกับความต้องการของสังคม ในการสร้างคุณค่าร่วม (Creating Shared Values) หรือ CSV เพื่อนำความเจริญและส่งเสริมความเป็นอยู่ของคนให้ดีขึ้น มุ่งเน้นการเติบโตไปพร้อมกัน เป้าหมายเพื่อความยั่งยืน

CSV Creating Shared Values

กลุ่มเซ็นทรัล คำนึงถึงการดำเนินธุรกิจในเชิงคุณภาพที่ตรงกับความต้องการของสังคม จึงยกระดับการดำเนินงานพัฒนาจาก CSR สู่ CSV (Creating Shared Values) เพื่อสร้างคุณค่าร่วมให้กับธุรกิจและสังคมในการพัฒนาอย่างยั่งยืน

สอดคล้องกับเป้าหมายการ พัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)

โครงการของ กลุ่มเซ็นทรัล ที่ชวนทุกคนมาร่วมมือกัน ‘ทำ’ เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างชุมชนและ สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีแก่พนักงานและสังคมอย่างยั่งยืน เซ็นทรัล ทำ ดำเนินงานตามแนวทางสากลสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน 17 ข้อ หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) โดยองค์การสหประชาชาติ (United Nations)

“ทำด้วยกัน ทำด้วยใจ”

ภายใต้แนวคิดของการร่วมมือจากทุกภาคส่วน ความเชื่อที่ว่าความสามัคคีของทุกคน การร่วมลงมือทำ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นสามารถสร้างสังคมที่ดีกว่าเดิม จึงเป็นที่มาของความตั้งใจในการสร้าง "พลังของการร่วมลงมือทำ" ด้วยความเชื่อนี้ เซ็นทรัล ทำ จึงมี Tagline "ทำด้วยกัน ทำด้วยใจ" ตอกย้ำแนวคิดความเชื่อในพลังของการร่วมมือกันทำ และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการตั้งใจทำ และมุ่งมั่นที่จะทำในระยะยาว ซึ่งเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนองค์กรให้ยั่งยืน

ทิศทางกลยุทธ์ของ “เซ็นทรัล ทำ

เซ็นทรัล ทำ ตอกย้ำจุดยืน มิติใหม่ของการทำ บนแนวคิด การสร้างคุณค่าร่วม (CSV)

เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต การศึกษา สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยร่วมมือกับทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน องค์กร และชุมชนต่างๆ เพื่อสร้างความเติบโตอย่างยั่งยืน ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา "เซ็นทรัล ทำ" ได้ลงมือทำมามากกว่า 100 โครงการ ในการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน โดยมีโครงการเด่นหลากหลายโครงการที่ทำตาม 6 แนวทางการขับเคลื่อนเพื่อความยั่งยืน ดังนี้

แนวทางที่ 1
ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเสมอภาคในการเข้าถึงโอกาสอย่างเท่าเทียม (Inclusion)
การศึกษา (Education)

คือหนึ่งปัจจัยพื้นฐานที่จะช่วยสร้างคน พัฒนาชาติและสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี เซ็นทรัล ทำ มุ่งมั่นยกระดับองค์ความรู้ให้สถานศึกษาต่าง ๆ ได้นำหลักการมาปรับปรุงเป็นศูนย์การเรียนรู้ ตามแนวทางทั้ง 8 ด้าน ได้แก่

  1. หลักสูตรทางวิทยาศาสตร์
  2. หลักสูตรภาษาอังกฤษและภาษาจีน
  3. หลักสูตรเศรษฐกิจพอเพียง
  4. คุณธรรมจริยธรรม
  5. การจัดอบรมโค้ชครู
  6. ให้ความรู้อบรมเรื่องสิ่งแวดล้อม
  7. ปรับปรุงสถานศึกษา
  8. มอบทุนการศึกษา

ทำการอบรมโค้ชครูฝึกอบรมและพัฒนาครูผู้สอนให้มีทักษะการโค้ช ส่งเสริมให้นักเรียนกล้าคิด กล้าถาม กล้าทำ กระตุ้นให้นักเรียนได้ใช้ศักยภาพสูงสุด มีความเข้าใจหลักการโค้ช และเทคนิคการตั้งคำถาม มีการปรับเปลี่ยนทัศนคติในการรับฟังเด็กมากยิ่งขึ้น เด็กนักเรียนมีความสุขขึ้น ความสัมพันธ์ระหว่างครูและนักเรียนดีขึ้น ทำให้ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนสูงขึ้น​

โอกาสในการทำงาน​ เซ็นทรัล ทำ ได้เข้าไปพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยการออกแบบและปรับปรุงพื้นที่ต่างๆ ให้เอื้อต่อการใช้ชีวิต และส่งเสริมทักษะอาชีพให้กับคนพิการ โดยการแบ่งปันความรู้ สอนทักษะและสร้างอาชีพ เพื่อฟื้นฟูศักยภาพ และสร้างรายได้ให้กับคนพิการอย่างยั่งยืน เราจึงร่วมกับมูลนิธิพระมหาไถ่ และเปิดโอกาสโดยการรับเป็นพนักงานประจำกว่า 80 คน ที่ศูนย์ Contact Center ยังมีการส่งเสริมการสร้างงานให้กับสมาคมคนพิการ จังหวัดอุดรธานี ผ่านโครงการสานตะกร้า และนำมาจำหน่ายในร้าน good goods ​

แนวทางที่ 2
ส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน สร้างอาชีพ และบรรเทาสาธารณภัย (Community & Social Contribution)
การพัฒนาชุมชน (Community Development)

ส่งเสริมการสร้างอาชีพ โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกร ได้ดำเนินโครงการต่าง ๆ บนแนวทาง

  1. การพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน
  2. การออกแบบหีบห่อบรรจุภัณฑ์​
  3. ลงทุนและพัฒนาอาคาร
  4. การรับซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อนำมาจำหน่ายในศูนย์การค้าที่ต่างๆ ​
  5. การสนับสนุนการขนส่ง ​
  6. การสนับสนุนการทำการตลาดช่องทางการขาย
  7. แนะนำความรู้ทางธุรกิจ
  8. สนับสนุนช่องทางการสื่อสาร

มรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage) ผ่านการสืบสานประเพณีอันดีงามสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นส่งเสริมและพัฒนาให้ชุมชนเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ส่งเสริมการกระจายรายได้สู่ชุมชนสืบสานวัฒนธรรม พัฒนาสินค้าท้องถิ่น สร้างเส้นทางการท่องเที่ยวยั่งยืน

สุขภาพแข็งแรงและความเป็นอยู่ที่ดี (Well-being) ผ่านการจัดกิจกรรมส่งเสริมด้านสุขภาพ อาทิ จัดงานกีฬา สนับสนุนการปรับปรุงพื้นที่สาธารณะ ช่วยเหลือชุมชนเมื่อคราวเกิดภัยพิบัติต่างๆ ร่วมบริจาคโลหิต มอบอุปกรณ์ทางการแพทย์ สนับสนุนงบประมาณสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง ให้ความรู้ด้านสุขภาพที่ดี ร่วมมือกับองค์กรยูนิเซฟ จัดทำสินค้าออกจำหน่ายเพื่อระดมทุนช่วยเหลือเด็กๆ ทั่วโลก เป็นต้น ​

แนวทางที่ 3 พัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ (Human Capital Development)

การดูแลพัฒนาบุคลากรขององค์กร  เป็นกรอบและกระบวนการในการพัฒนาตลอดจนส่งเสริมให้บุคลากรในองค์กรมีความรู้ความสามารถไปจนถึงมีทักษะในการปฎิบัติงานได้ดียิ่งขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดี ควบคู่กันไปด้วย คือต้อง Work Life Balance โดยการพัฒนาศักยภาพของพนักงานในองค์กรนั้น อาจทำได้ตั้งแต่การฝึกอบรม การศึกษาผ่านการเรียนการสอนที่จริงจัง การออกไปดูงานนอกองค์กร ไปจนถึงการถ่ายทอดประสบการณ์ระหว่างกัน ซึ่งเมื่อพนักงานได้รับการพัฒนาแล้วก็สามารถเป็นประโยชน์ต่อองค์กร ส่งผลให้องค์กรพัฒนา และประสบความสำเร็จตามไปด้วยได้ เรามีการให้ความรู้ และฝึกอบรมพนักงานอย่างต่อเนื่อง และพนักงานเองก็ให้ความร่วมมือตามเป้าหมายทุกคน​

แนวทางที่ 4ขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนและการบริหารจัดการขยะมูลฝอย(Circular Economy & Waste Management)

การมีคุณภาพชีวิตที่ดี ​ต้องอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี มีคุณภาพ เราจึงส่งเสริมให้ทุกคนร่วมมือกันรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อขับเคลื่อนโลกสีเขียวอย่างยั่งยืน โดยสนับสนุนธุรกิจในกลุ่มเซ็นทรัล ในการพัฒนาและออกแบบการดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องไปกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีความรับผิดชอบ เพื่อให้ทุกคนได้อยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมที่ดี มีคุณภาพ​

โครงการ Journey to Zero โครงการด้านสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมการบริหารจัดการที่มีคุณภาพ เพื่อลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากการดำเนินธุรกิจ และให้สอดคล้องกับเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมของโลก ​

สินค้า Upcycling สนับสนุนและผลิตสินค้าโดยใช้ขวดพลาสติกหรือวัตถุอื่นๆ เช่น แสลน เป็นต้น ซึ่งเป็นการ ลดขยะสู่ฝังกลบ ปัจจุบันนี้ได้มีการรับบริจาคขวดพลาสติกตามศูนย์การค้าของกลุ่มเซ็นทรัล เพื่อนำมาผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆ ซึ่งสามารถผลิตกระเป๋า, เสื้อกั๊ก และผ้าห่มซึ่งสามารถ ลดปริมาณขวดน้ำพลาสติกลงหลุมฝังกลบได้กว่า 300,000 ขวด

แนวทางที่ 5
ลดการสูญเสียอาหารในกระบวนการผลิต และลดปริมาณขยะอาหาร (Food Loss & Food Waste Reduction)

ส่วนสำคัญในการไปสู่ Zero Waste คือ การจัดการอาหารส่วนเกิน (Food Surplus) เพื่อลดปริมาณอาหารเหลือทิ้งตั้งแต่ต้นทาง ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนการใช้วัตถุดิบ การจัดการอาหารที่เหลือจากการจำหน่าย

อาหารที่ยังรับประทานได้ จัดการส่งต่อให้แก่กลุ่มเปราะบาง รวมไปถึงเด็ก เยาวชนและ ผู้ขาดแคลนโอกาส โดยในปี 2565

ได้บริจาคไปมากกว่า 1,108,960.31 มื้อ หรือเทียบเท่ากับการลดการสร้างขยะลงสู่หลุมฝังกลบ 264 ตัน

อาหารที่ไม่สามารถรับประทานได้ จะถูกนำไปผ่านกระบวนการในการแปรรูปเป็นปุ๋ยอินทรีย์ และก๊าซชีวภาพเพื่อนำมาสร้างประโยชน์หมุนเวียนต่อไป อาทิ

โครงการที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลทำร่วมกับกรุงเทพมหานครซึ่งบริจาคขยะอาหารเพื่อเป็นอาหารสัตว์ไปมากกว่า 579 ตัน

โครงการ Samui Model และ Surat Model ได้ลดการสร้างขยะอินทรีย์สู่หลุมฝังกลบในพื้นที่ ผ่านการใช้เทคโนโลยีการแปรรูปอาหารเหลือเป็นปุ๋ยเกษตร ซึ่งสามารถจัดการขยะอาหารอย่างถูกวิธีได้ ทั้งหมดมากกว่า 62ตัน และแจกจ่ายปุ๋ยอินทรีย์ให้กับชุมชนในพื้นที่ เพื่อนำไปใช้ต่อยอดเกษตรอินทรีย์ ​ ​

แนวทางที่ 6
ฟื้นฟูสภาพอากาศ ลดมลภาวะ และผลักดันการใช้พลังงานหมุนเวียน (Climate Action)

หนึ่งในเป้าหมายของโครงการ Journey to Zero คือ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์(Net Zero) โดยส่งเสริมให้ธุรกิจในกลุ่มมีการใช้พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) ดังนี้

การติดตั้งแผงโซล่าร์เซลล์ กว่า 101 แห่ง
และติดตั้งสถานีชาร์จรถไฟฟ้า กว่า 80 สถานี

ร่วมมือปรับภูมิทัศน์โดยรอบศูนย์การค้า ผ่านการจัดทำสวนสาธารณะ การบูรณาการพื้นที่ริมคลอง การจัดทำติดตั้งเครื่องดักไขมัน และการปรับสภาพน้ำในคลองข้างศูนย์การค้า

ร่วมมือกับกรุงเทพมหานคร ในการปลูกต้นไม้ 100,000 ต้น เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว และปอดให้กับคนกรุงเทพ ​

เพิ่มพื้นที่สีเขียวทั้งในพื้นที่โดยรอบ และส่งเสริมการปลูกป่า (Forest Restoration) กิจกรรมปลูกต้นไม้ ฟื้นฟูผืนป่า ที่ดำเนินการไปแล้วกว่า 5,500 ไร่ และตั้งเป้าที่จะปลูกป่าและฟื้นฟูป่าเพิ่มเติมอีก 1,000 ไร่ภายในปี 2566 จากการปลูกทางการเกษตรของชุมชน เซ็นทรัล ทำ ชุมชนที่ส่งผลผลิตจำหน่ายที่ Tops และ จริงใจ Farmers’ Market และดำเนินโครงการปลูกป่าต่างๆ