09 มีนาคม 2564

กลุ่มเซ็นทรัล คว้ารางวัล ‘CLIMATE ACTION AWARDS’

บริษัทกลุ่มเซ็นทรัลได้เผชิญกับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ต่อการดำเนินธุรกิจมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2563 ตลอดจนผู้ค้า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และชุมชนก็ล้วนแต่ได้รับผลกระทบทั้งสิ้น ในฐานะเป็นกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ของประเทศ บริษัทกลุ่มเซ็นทรัลจึงยึดถือให้ความสำคัญที่จะสร้างสรรค์ขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชนอย่างต่อเนื่องด้วยหลักการ Creating Shared Value (CSV) การสร้างคุณค่าร่วมกันระหว่างธุรกิจและสังคม สนับสนุนให้เกิดความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น และตลอดห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ จนสามารถบรรลุเป้าหมายการสร้างรายได้ให้ชุมชนได้ถึง 1,500 ล้านบาทในปี 2563 ที่ผ่านมา แต่ในขณะเดียวกัน อีกปัญหาท้าทายที่สำคัญไม่แพ้กันคือ วิกฤตปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เผชิญในขณะนี้ อาทิ วิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปัญหาหมอกควัน ปัญหาขยะ และการเสื่อมโทรมของทรัพยากร ก็ถือเป็นประเด็นหลักที่บริษัทกลุ่มเซ็นทรัลได้เข้ามาเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาตลอดหลายปีที่ผ่านมา

ในปี 2564 บริษัทกลุ่มเซ็นทรัลจึงได้ดำเนินยุทธศาสตร์ด้านความยั่งยืนในมิติสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคมไปพร้อมกัน โดยตั้งเป้าหมายเป็นผู้นำธุรกิจค้าปลีกในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วยการนำระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และการแก้ปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) โดยการบูรณาการไปกับแผนดำเนินธุรกิจ พร้อมดำเนินโครงการเพื่อสังคมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีโครงการ “เซ็นทรัลทำ” ที่กำหนดเป้าหมายฟื้นฟูป่าต้นน้ำ 5,000 ไร่ ภายในปี 2574 และตั้งเป้าหมายลดลงขยะให้ได้ร้อยละ 30 ต่อปี รวมถึงการสร้างสภาพแวดล้อมภายในและรอบศูนย์การค้าให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมชุมชนในการสร้างอาชีพยั่งยืน การทำเกษตรอินทรีย์ การแปรรูป การพัฒนาสินค้า และการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ ผ่านวิสัยทัศน์ในการสร้างสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนและเข้าถึงทุกกล่มของสังคม (inclusive) ด้วยหลัก CSV และการผนึกกำลังดำเนินงานร่วมกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา และภาคประชาสังคม องค์กรพัฒนาเอกชน และชุมชน (collective collaboration for collective impacts)

บริษัทกลุ่มเซ็นทรัล ได้ดำเนินหลายโครงการด้านสิ่งแวดล้อมมากมายภายใต้ Campaign ชื่อ Central Group Love the Earth โดยมีโครงการ Journey to Zero ภายใต้กรอบดำเนินงานเพื่อเป้าหมายในการลดปริมาณขยะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง (single-use plastic reduction) และหมุนเวียนทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่ (recycling and up cycling) การจัดการคัดแยกขยะ (waste segregation) และลดการสร้างขยะอาหาร (food waste reduction) โดยในปี 2020 สามารถลดขยะพลาสติกได้ถึง 236 ล้านชิ้น และบริจาคอาหารที่เกินจากการขายให้กับกลุ่มเปราะบาง 203,778 กก. คิดรวมเป็นจำนวน 855,869 มื้อ นอกจากประเด็นขยะแล้ว บริษัทกลุ่มเซ็ลทรัลยังมีการดำเนินแผนงานฟื้นฟูป่าต้นน้ำสร้างพื้นที่สีเขียว โดยตั้งแต่ปี 2561 จนปัจจุบัน ได้ฟื้นฟูป่าต้นน้ำไปแล้ว 1,033 ไร่ ซึ่งนอกจากจะเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอน ลดปัญหาโลกร้อนแล้ว ยังเป็นการฟื้นฟูระบบนิเวศและทรัพยากรที่จะเป็นทุนให้กับชุมชนในการประกอบอาชีพและสร้างความมั่นคงทางอาหารที่ยั่งยืนให้กับชุมชน ตามประสงค์ของโครงการ ได้ป่าฟื้นคืน ได้อาชีพยั่งยืน ได้อาหารปลอดภัย

จากการดำเนินงานด้านการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในวันที่ 9 มีนาคม 2564 ที่ผ่านมา FeedUp@UN โดยองค์การสหประชาชาติร่วมกับ สมาคมการตลาดเพื่อเกษตรและอาหารแห่งเอเชียแปซิฟิก ( AFMA) ได้มอบรางวัล ‘Climate Action Awards’ ให้กับบริษัทกลุ่มเซ็นทรัล ในฐานะเป็นองค์กรขับเคลื่อนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภายใต้ 2 เป้าหมายหลัก;

การปลูกป่าฟื้นฟูป่า ส่งเสริมอาชีพยั่งยืน อาหารปลอดภัย สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ชุมชน (Forest Restoration) ร่วมกับ FLR 349 โดยสามารถกักเก็บคาร์บอน (carbon sequestration) ได้รวม 39,353,527 KgCo2e จากพื้นที่ฟื้นป่า 1,033 ไร่

การจัดการขยะอาหาร (Food Waste/ Food Surplus) โดยสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในปี 2563 ได้ทั้งสิ้น 862,109 KgCo2e. จากการคัดแยกขยะอินทรีย์ และบริจาคอาหารส่วนเกิน

ปี ขนาดพื้นที่ ปริมาณการกับเก็บคาร์บอน
(kg CO2eq.10yr-1)
พื้นที่
Central Group (2019) 32 Hectare(200 Rai) 6,697,408 บ้านแม่ขี้มูก ตำบลบ้านทับ อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ (Lat 18.464431 Long 98.306489)
Central Group (2019) 41.12 (257 Rai) 8,606,169 บ้านนาน้อย ตำบลบัวใหญ่ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน (Lat 18.332209, Long 100.636999)
Central Group (2018) 80 Hectare (500 Rai) 16,743,500 วิสาหกิจกาแฟอินทรีย์รักษ์ป่าภูชี้เดือนตำบลปอ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย
Central Group (2018) 10.08 Hectare (63 Rai) 2,109,681 ตำบางยอ และตำบลบางน้ำผึ้ง คุ้งบางกะเจ้า อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
Central Group (2021) 22.75 Hectare (143 rai) 21,300 plants 4,761,438.50 บ้านอมเม็ง และบ้านกองแขกเหนือ ตำบลกองแขก อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ (Lat 18.435880, Long 98.399585)
Central Group (2018) 2.08 Hectare (13 rai) 435,331 บริเวณจุดชมวิวชายทะเล ป่าชายเลน บางขุนเทียนชายทะเล แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน จังหวัดกรุงเทพฯ
ปริมาณการลดขยะอาหาร (ตัน) ปริมาณการลดการปล่อยคาร์บอน (KgCO2e)
การลดขยะอาหาร
FamilyMart and Central Pattana (5 Branches) 254 482,600
บริจาคอาหารส่วนเกิน (Food Surplus)
TOPS, FamilyMart, Centara Resort and Spa, Mister Donut 200 379,509

รางวัล ‘Climate Action Awards ถือเป็นกำลังใจสำคัญที่บริษัทกลุ่มเซ็นทรัลจะดำเนินงานด้านพัฒนางานด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมต่อไปไม่หยุดยั้ง บริษัทกลุ่มเซ็นทรัลเป็นภาคธุรกิจที่เป็นตัวกลางที่เชื่อมจากต้นน้ำถึงปลายน้ำ และจึงต้องเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการผลิตและบริโภคของประเทศสู่จุดสมดุล ไม่สร้างภาระให้แก่สิ่งแวดล้อม การสร้างคุณค่าร่วมกันระหว่างธุรกิจ และสังคม การทำประโยชน์ให้สังคมและสิ่งแวดล้อมจะเป็นหัวใจสำคัญในการทำธุรกิจของบริษัทกลุ่มเซ็นทรัลจะเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้ประเทศไทยก้าวสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนได้” คุณพิชัย จิราธิวัฒน์ กรรมการบริหาร บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด กล่าว

ในการดำเนินโครงการฟื้นฟูป่าต้นน้ำนั้น ทางบริษัทกลุ่มเซ็ลทรัล ได้ร่วมมือกับภาคีเครือข่ายภาคประชาสังคม เช่น องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF) มูลนิธินววัตกรรมเกษตรอินทรีย์ไทย และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ต่างๆ ภายให้ชื่อโครงการ FLR349 ฟื้นป่าต้นน้ำ สร้างอาชีพยั่งยืน ส่งเสริมระบบอาหารปลอดภัย โดยได้น้อมนำศาสตร์พระราชาป่าสามอย่างประโยชน์สี่อย่างในการฟื้นฟูป่าต้นน้ำ ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนอาชีพให้แก่เกษตรกรจากการทำพืชเชิงเดี่ยวใช้เคมีในป่าต้นน้ำ สู่การทำเกษตรอินทรีย์แบบผสมผสาน พร้อมกับปลูกไม้ป่ายืนต้น ซึ่งนอกจากจะสามารถเป็นการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมป่าต้นน้ำแล้ว ยังเป็นแหล่งอาหารและอาชีพที่ยั่งยืนให้กับเกษตรกรได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ ท๊อปส์ซูเปอร์มาเก็ต ยังเน้นการสนับสนุนรับซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์จากชุมชน รวมถึงการจัดตั้งให้มี “ตลาดจริงใจ” ซึ่งเป็น farmers market อย่างแท้จริง ที่ได้มีการนำผลผลิตทางการเกษตรที่ปลูกแบบอินทรีย์จากชุมชนในพื้นที่มาขายให้แก่ผู้บริโภคโดยตรง ซึ่งเป็นการปลูกอย่างจริงใจเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ดีต่อสุขภาพของทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค

“ตั้งแต่ปีที่ผ่านมาถึงปัจจุบัน นอกจากประเทศไทยต้องเผชิญกับวิกฤติการระบาดของโควิด 19 ที่ทำให้ทุกภาคส่วนเกิดความยากลำบาก โดยเฉพาะปัญหาปากท้องแล้ว เรายังได้ประสบปัญหาวิกฤตสิ่งแวดล้อมอย่างสาหัส ทั้งไฟป่า ภัยแล้ง ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรทางธรรมชาติ โดยเฉพาะในพื้นที่ป่าต้นน้ำที่หล่อเลี้ยงคนทุกคน รวมถึงปัญหาการใช้ทรัพยากรเกินความจำเป็นซึ่งก่อให้เกิดปัญหาขยะล้นเมือง ปัญหาทั้งหมดนี้ส่งผลกระทบต่อคนทุกคน แนวทางแก้ไขปัญหาเหล่านี้คือการที่ภาคธุรกิจต้องเป็นส่วนหนึ่งในการรักษาและสร้างสิ่งแวดล้อมให้ดีกลับคืนมา รวมถึงการสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้กับชุมชนด้วยการสร้างอาชีพที่ยั่งยืน เช่น เกษตรกรรมยั่งยืนที่จะเป็นภูมิคุ้มกันให้ชุมชนในภาคเกษตรกรรมที่เป็นส่วนใหญ่ของประเทศมีความเป็นอยู่ที่ดี สามารถพึ่งพาตัวเองได้” คุณพิชัย จิราธิวัฒน์ กล่าวเสริม

ปัจจุบันบริษัทกลุ่มเซ็นทรัล ได้สนับสนุนให้เกิดพื้นที่เกษตรกรรมอินทรีย์ไป 591 ตำบล 23 จังหวัดโดยเป็นตลาดรับซื้อผลิตภัณฑ์เกษตรจากชุมชนมากถึง 1,100 ล้านบาท มีเกษตรกรได้รับประโยชน์ 3,529 ครัวเรือน และได้ตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มขึ้นร้อยละ20 ต่อปี

การดำเนินการทั้งหลายนี้เป็นการนำวิธีทางธรรมชาติ (nature-based solutions) และจัดการทรัพยากรทางธรรมชาติโดยชุมชนเอง (community- based natural resource management) มาประยุกต์ใช้เป็นโมเดลในการแก้ปัญหา และตั้งเป้าหมายในการขยายพื้นที่ (scale up) กระจายสู่ชุมชนในหลากหลายพื้นที่ทั่วประเทศ ในการบรรลุเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมนี้ บริษัทกลุ่มเซ็นทรัลได้จัดงบประมาณจะลงทุนเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ร่วมเป็นภาคีพันธมิตรกับทุกภาคส่วนและทุกองค์กรในการขับเคลื่อนเป้าหมายดังกล่าว รวมถึงการสร้างแพลตฟอร์มระดมทุนสนับสนุนธุรกิจ startups ที่ช่วยแก้ปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม และการปลูกป่าฟื้นฟูแหล่งต้นน้ำ และการสร้างแพลตฟอร์มเชื่อมเครือข่ายเกษตรกรต้นน้ำสู่ปลายน้ำผู้บริโภค และสนับสนับสนุนการนำนวัตกรรมใหม่มาใช้เป็นทางป้องกันและแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน