ทำจนเกลี้ยง ทำขยะให้หมดไป
โครงการ Journey to Zero การลดการสร้างขยะอาหาร
รู้หรือไม่ว่า ขยะในประเทศไทยประมาณ 64% เป็นขยะอาหารที่มีปริมาณทวีคูณ จากการสั่งอาหารเดลิเวอรี่มากขึ้นนอกจากทรัพยากรในขั้นตอนการผลิตอาหารที่ถูกทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์แล้ว ยังมีประเด็นเรื่องการกำจัดขยะอาหารเหล่านี้
ซึ่งมีกระบวนการย่อยสลายตามธรรมชาติ ที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกถึง 8%
ของสัดส่วนทั้งหมดในแต่ละปี หรือสามารถสร้างภาวะก๊าซเรือนกระจกเทียบเท่ากับ ที่รถยนต์ 37 ล้านคัน ผลิตและปล่อยขึ้นไปในชั้นบรรยากาศ
และแม้จะมีปริมาณอาหารมากมายที่ถูกทิ้งใน แต่ละวันแต่กลับยังมีผู้ขาดแคลนอาหาร จำนวนมากในสังคมของเรา
เซ็นทรัล ทำ ให้ความสำคัญการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยยึดหลักระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ตั้งเป้าลดปริมาณขยะอาหารให้ได้ร้อยละ 10 ต่อปี
และนำส่งขยะอินทรีย์ที่เกิดขึ้นจากการประกอบธุรกิจเพื่อเข้าสู่กระบวนจัดการที่เหมาะสมให้ได้เพิ่มมากขึ้นร้อยละ 10 ต่อปีเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า การลดการสร้างขยะอาหารมีวัตถุประสงค์เพื่อลดการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร รวมถึงขยะอาหารที่เหลือจากการจำหน่าย โดย ท็อปส์, แฟมิลี่มาร์ท, มิสเตอร์โดนัท และโรงแรมในเครือเซ็นทารา มีการนำอาหารส่วนเกินที่เหลือจากการจำหน่ายบริจาคให้ผู้เปราะบางทางสังคมผ่านมูลนิธิ SOS (Scholars of Sustenance) จำนวน 203 ตันต่อปี คิดเป็นมื้ออาหารจำนวน 855,869 มื้อในปี พ.ศ. 2563 โดยคิดเป็นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 380 ตันคาร์บอนเทียบเท่า
ในขณะ ที่ธุรกิจโรงแรม ยังมีโครงการลดปริมาณอาหารทิ้งตั้งแต่ต้นทางด้วยการทำงานร่วมกับหัวหน้าเชฟเพื่อวางแผนการใช้วัตถุดิบจากขั้นตอนการเตรียมให้ “ทำจนเกลี้ยง” จนสู่การ “ทำขยะให้หมดไป” ด้วยการแปรรูปขยะอาหารที่เกิดขึ้นเป็นปุ๋ยอินทรีย์และก๊าซชีวภาพกลับนำมาใช้ภายในโรงแรม
นอกจากนี้เรายังทำ “ทำที่ต้นทาง ทำเกาะให้ปลอดขยะ”
ธรรมชาติของความเป็นเกาะทำให้ปัญหาขยะล้นเมืองยิ่งท้าทายแต่เดิมพันในการรักษาสภาพแวดล้อมของเกาะสมุยที่มีความสวยงามเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยว ทั่วโลกสูงยิ่งกว่า ทำให้เราต้องหันกลับมามองและจัดการที่ต้นทาง..
จากจุดเริ่มต้นเล็ก ๆของแฟมิลี่มาร์ท ที่ลงมือแยกขยะพลาสติกและขยะอินทรีย์
แล้วส่งต่อไปยังโรงเรียน เทศบาล 1 วัดละไมเพื่อแปรรูปเป็นแก๊สหุงต้ม อาหารสัตว์ และปุ๋ย เส้นทางของความยั่งยืนที่สมุยก็ถูก “ทำต่อยอด” โดยศูนย์การค้าเซ็นทรัล สมุย แฟมิลี่มาร์ท และ โรงแรมเซ็นทารา ที่คัดแยกขยะอินทรีย์ติดตั้งเครื่อง ผลิตปุ๋ยหมักและก๊าซชีวภาพ (Cowtec)และแปรรูปเป็นแก๊สหุงต้มส่งไปยังโรงครัว ของโรงเรียนเพื่อทำอาหารกลางวันให้เด็กนักเรียนกว่า 500 คน
และเป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่นำไปใช้ในโครงการ แปลงเกษตรสาธิตที่จะเป็นต้นแบบของ การทำเกษตรอินทรีย์ให้กับชุมชน ถ้าเราทุกคน “ทำเต็มกำลัง”สมุยจะเป็นเกาะ Zero Waste และกลายเป็นเมืองต้นแบบได้ไม่ยากเลย
จากความมุ่งมั่นตั้งใจในการรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้ในเดือน มีนาคม พ.ศ. 2564 FeedUp@UNโดยองค์การสหประชาชาติร่วมกับสมาคม การตลาดเกษตรและอาหารแห่งภูมิภาคเอเซียแปซิฟิค (AFMA - อัฟมา) ได้มอบรางวัล 'Climate Action Awards' จำนวน 2 รางวัลให้กับ กลุ่มเซ็นทรัลในฐานะเป็นองค์กรขับเคลื่อนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่เป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
เซ็นทรัล ทำ เชื่อมั่นว่าการรักษ์โลกที่ยั่งยืนเริ่มต้นได้ที่ตัวเรา พนักงานของเรา ลูกค้า ของเรา เพื่อประโยชน์สู่ชุมชนโดยรอบ และขยายวงกว้างไปสู่ในระดับประเทศในที่สุด เพื่อส่งต่อโลกที่เรารักให้กับคนรุ่นหลังต่อไป