ทำใหม่ ทำให้อิ่มท้อง
โครงการพอเพียงเลี้ยงไก่ไข่

ปัญหาเด็กไทยมีทุพโภชนาการขาดสารอาหารที่เกิดจากอาหารและโภชนาการบกพร่อง แม้ว่าจะมีการสนับสนุนจากภาครัฐ เรื่องอาหารกลางวัน แต่สิ่งที่ขาดหายไปอาจเป็นความยั่งยืน

ดังกรณีที่ทางโรงเรียนได้รับการสนับสนุนงบประมาณมาดำเนินกิจกรรมเลี้ยงไก่ไข่ โดยซื้อพันธุ์ไก่ไข่แล้วนำไข่มาปรุงเป็นอาหารกลางวัน ส่วนไข่ที่เหลือจะแจกจ่ายและเมื่อไก่ปลดระวางออกไข่น้อยลงหรือไม่ออกไข่แล้ว ก็ต้องทำเรื่องขออนุมัติงบประมาณเพื่อมาซื้อพันธุ์ไก่ใหม่ หากปีใดไม่ได้รับการอนุมัติ ปีนั้นโรงเลี้ยงไก่ก็จะกลายเป็นกรงร้างและปัญหาเดิมก็จะวนมาอีกครั้ง
จากแนวคิดริเริ่มให้พอมีกินในมื้อกลางวันนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้การสร้างสุขภาพที่ดีและการสร้างรายได้ให้กับโรงเรียนที่เซ็นทรัล ทำ ได้วางแนวคิดการเรียนรู้แบบ Active Base Learning
ผู้เรียนจะได้ “ทำจริง” และได้เรียนรู้ผ่าน การลงมือปฏิบัติ เพื่อให้เข้าใจกระบวนการ ประกอบอาชีพเลี้ยงไก่ตั้งแต่ต้นน้ำจนปลายน้ำ

เด็ก ๆ ได้อิ่มท้องจากโครงการอาหารกลางวันที่มีไข่ไก่เป็นแหล่งโปรตีนชั้นเยี่ยมให้กับนักเรียนพร้อมพัฒนาทักษะของการสังเกต การแก้ปัญหา การคิดวิเคราะห์ การต่อยอดโครงการที่ทำผลิตภัณฑ์จากไข่ไก่ ไปจนถึงการหัดค้าขายและเพื่อสร้างความยั่งยืน เด็ก ๆ ยังได้ถอดบทเรียนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2-3-4 เพื่อประเมินความรู้และคุณธรรมที่ต้องใช้ในการเลี้ยงไก่ไข่ การประยุกต์ใช้หลักความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล การมีภูมิคุ้มกัน และคำนึงถึงผลกระทบในมิติด้านวัตถุ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ รวมทั้งยังได้พัฒนาความรู้หลากหลายสาขา เช่น สัตวบาล บัญชี การตลาดที่เซ็นทรัล ทำ สอนให้พวกเขาเปลี่ยนวิธี

โดยนำงบประมาณอาหารกลางวันที่ได้รับมาซื้อไข่ที่ตนเองเลี้ยงในโครงการ ในราคา 2 บาทต่อฟองซึ่งถูกกว่าท้องตลาด และทำบัญชีจำนวนไข่และบัญชีการซื้อไข่แยกออกมา โดยมีกติกาที่ห้ามนำเงินส่วนนี้มาใช้เพื่อที่โรงเรียนจะได้มีงบประมาณเพียงพอในการซื้ออาหารไก่และไก่พันธุ์ใหม่หลังไก่ปลดระวาง โดยไม่จำเป็นต้องขออนุมัติงบฯ จากหน่วยงานใดอีก ด้วยวิธีการใหม่โรงเรียนจึงสามารถมีพันธุ์ไก่ไข่และมีไข่ไก่มาให้นักเรียนได้บริโภคตลอดทั้งปีอย่างยั่งยืนด้วยตัวเอง

โรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่ จำนวน 19 โรงเรียน ใน 10 จังหวัด อาทิ ตรัง กระบี่ เชียงใหม่ อุดรธานี เป็นการพัฒนาโรงเรียนให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ทักษะอาชีพที่จะติดตัวต่อยอดไปเป็นอาชีพได้ในอนาคต จะส่งเสริมให้เด็กได้เรียนและ “ทำจนรู้จริง”
แววตาที่ส่องประกายความหวัง รอยยิ้มกว้างที่สดใสจะไม่จางหายไปจากเด็กและเยาวชนไทยนั่นคือพันธะสัญญาของพวกเรา
โครงการพอเพียงเลี้ยงไก่ไข่